การรักษาไมเกรน

0

การรักษาไมเกรน

การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดีผู้ป่วยจะต้องทราบถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวด ศีรษะ และมีส่วนร่วมในการรักษาโดยมีสมุดจดบันทึกปัจจัยชักนำให้ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะเป็นอย่างไรหลังจากหลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ การปรับยาของแพทย์ทำให้ปวดศีรษะดีขึ้นหรือไม่ ควรไปตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา แบ่งการรักษาเป็นสองหัวข้อคือ ควบคุมปัจจัยชักนำและการรักษาด้วยยา

การควบคุมปัจจัยชักนำ

ปัจจัยชักนำมิใช่สาเหตุแต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน

อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส อาหารที่มี tyramine เช่น เนย นม ช็อกโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟ ชา

การนอน ควรนอนให้เป็นเวลาและนอนให้พอ ตื่นให้เป็นเวลา

ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดจะดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมาก ระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น การกินยาคุมกำเนิดจะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้น

ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว

 

การรักษาไมเกรนด้วยยา

การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ (acute treatment) และการรักษาเพื่อป้องกัน (preventive treatment) จะใช้ในกรณีที่ปวดศรีษะรุนแรงและบ่อย

  • Acute treatment ยาแก้ปวดศีรษะมีด้วยกันหลายชนิด ควรกินทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไม่ควรกินยาบ่อย หรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง
  • ยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอื่นบางชนิดอาจหาซื้อได้จากร้านขายยา เช่น paracetamol aspirin ibuprofen ยา aspirin ไม่ควรใช้กับเด็ก ผู้ป่วยบางรายอาจกินยากลุ่มเหล่านี้ก่อนพบแพทย์ แต่ถ้าไม่หายแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ดีขึ้น แต่ยาบางตัวอาจมีแนวโน้มที่จะเสพติด แพทย์บางท่านอาจใช้ยา Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น mefanamic diclofenac ibuprofen แทนกลุ่มที่จะมีแนวโน้มทำให้เสพติด ผู้ป่วยไมเกรนนอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้วยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วม ด้วย ดังนั้นควรได้รับยาแก้คลื่นไส้
  • ยาที่หยุดอาการไมเกรน ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิดได้แก่ Ergot alkaloids และ Triptans
  • Migraine prevention หากอาการปวดศรีษะไมเกรนรุนแรงและเป็นบ่อย แพทย์จะแนะนำยาป้องกันไมเกรนซึ่งสามารถลดความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวด และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆ ลดยาลง ยาในกลุ่มนี้ได้แก่

–  Antidepressants ยาลดอาการซึมเศร้าสามารถป้องกันการปวดศีรษะไมเกรนได้ เช่น amitriptyline, nortriptyline, and doxepin

–  Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้ เช่น propranolol metoprolol timolol nadolol or atenolol การใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ

–  Calcium channel blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจ แต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้ เช่น varaparmil diltiazem or nifedipine การใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ

–  Serotonin antagonists เช่น cyproheptadine เป็นยาที่ทำให้อยากอาหาร ไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็ก

–  Anticonvulsants เป็นยากันชักที่ใช้ได้ผลดี โดยเฉพาะ valproate ยาตัวนี้ให้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 10 ปี

 

การรักษาไมเกรนโดยไม่ต้องใช้ยา

มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

  • การทำสมาธิ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย มีสติและยังยั้งความเครียดได้อย่างน่าทึ่ง เวลาที่เราเกิดความเครียด ลองฝึกปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิอย่างน้อยสักครึ่งชั่วโมง จะทำให้ความเครียดนั้นลดลง
  • การจัดการกับความเครียดด้วยการรู้จักแยกแยะ ว่าสิ่งใดที่ก่อให้เกิดความเครียด และเราไม่ควรไปใส่ใจให้มากนัก
  • การฝังเข็ม ตามตำราจีน เขาบอกว่าการฝังเข็มสามารถช่วยลดความเครียดได้ และเป็นวิธีที่นิยมกัน
  • การออกกำลังกาย เป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ทุกคนสามารถกระทำได้ เพียงมีเวลาสักนิดหน่อยก็ลดความเครียดได้ หรือไม่ก็ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายสักระยะก็ช่วยได้เช่นกัน ท่านใดที่มีเวลาก็ออกกำลังกายจะเดิน วิ่งจับกลุ่มกันเล่นกีฬาที่ชื่นชอบ ก็เป็นวิธีที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไม่กังวลลืมเรื่องที่ทำให้เราเครียดได้

 

หลักการรักษาไมเกรนให้ได้ผลดี

การจดบันทึกอาการของโรคไมเกรน ดังนี้

  • วันและเวลาที่ปวด
  • ระยะเวลาที่ปวด
  • อาการอื่นที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นทั้ง แสง เสียง กลิ่น
  • ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ คุณผู้หญิงอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับรอบเดือนด้วย
  • ให้คนใกล้ชิดคอยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะ เช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ
  • ให้พกยาติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุดเสมอ
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามกินยาเกินแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาทันที ถ้าลืมกินให้กินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ห้ามกิน 2 เท่า หลังจากกินยาให้หาห้องเงียบๆ มืดๆ นอนพักจนอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
Share.

About Author