กระเทียม(Garlic)
พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว (กระเทียม) หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ
ใบยาว แบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน
ช่อดอกสีขาวอมเขียว หรืออมชมพูม่วง
การปลูกกระเทียม ใช้หัวปลูก ต้นกระเทียมชอบอากาศเย็นและดินร่วนซุย
กระเทียมช่วยป้องกันเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะด้วย มีหลักฐานพบว่า มีการใช้กระเทียมรักษาและป้องกันโรคมาหลายพันปีแล้ว การศึกษาพบว่ากระเทียมช่วยทำให้เลือดดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและล้างสารพิษ
ปริมาณที่ควรบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันคือ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ซึ่งอาจใช้เป็นรูปกระเทียมสด กระเทียมสกัด กระเทียมผงได้
กระเทียมมีสารอัลลิซิ น (alliein) ซึ่งเมื่อผสมกับก๊าซออกซิเจนแล้ว จะได้สารประกอบถึง 100 กว่าชนิด ที่ทำปฏิกิริยาได้ทันที (active compounds) จากการศึกษาก็ยังพบว่า กระเทียม ไม่ว่าจะอยู่ในรูป สด แห้ง น้ำมัน หรือปรุงแต่งแล้ว เช่น ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วนั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น
กระเทียมสามารถต้าน การรวมตัวของเลือด(antiaggregative) ลดสลายปริมาณคอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และสารที่เป็นพิษต่อตับ จากการทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองพบว่า กระเทียม สามารถต้านการเกิดเนื้องอก (tumor formation) และการค้นพบที่สำคัญยิ่งคือมีรายงานว่ากระเทียม ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด เอ็นเค (Natural killer , NK) ทำหน้าที่ได้ดีมากขึ้น
กระเทียมยังส่งเสริม การทำงานของเซลล์แม็คโครเฟจ (macrophage) และเซลล์ลิมโฟไซท์(lymphocytes) ซึ่งเซลล์นี้ทำหน้าที่สำคัญในการเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ การทดลองใช้กระเทียม แคลปซูลชนิดที่เรียกว่าไคโอลิค (Kyolic) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวญี่ปุ่น ได้พบว่าทำให้ปฏิกิริยาของเซลล์ NK เพิ่มขึ้น 156 % ขณะที่กระเทียมสดธรรมดาเพิ่มปฏิกิริยาได้ 140% แต่ราคากระเทียมสดในประเทศไทยถูกกว่ามากเราจึงน่าใช้กระเทียมสดมากกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ควรกินกระเทียมสดวันละ 7- 10 กลีบในรูปการใช้ผสมกับอาหารต่างๆ รวมทั้งน้ำจิ้ม คนไทยมีอาหารที่มีกระเทียมสดเป็นส่วนผสมหลายอย่าง เช่น ขนมจีนซาวน้ำ มีกระเทียมสด ขิง และสับปะรด การกินร่วมกัน นอกจากอร่อยถูกปากแล้ว สับปะรดยังสามารถดับกลิ่นกระเทียมได้ด้วย วิธีกินให้พอ อาจใช้วิธีผสมกันระหว่างการกินกระเทียมสดประมาณ 2 กลีบ และในรูปอื่นที่ทำให้สุกหรือดองแล้วอีกสัก 4 – 5 กลีบเป็นต้น การดองกระเทียมในน้ำส้มและน้ำผึ้งเป็นที่นิยม มีประโยชน์และหาซื้อได้ง่ายสาระสำคัญที่พบในกระเทียม นอกจากสารอัลลิซิน (allicein) และ อัลลิอิน (Alliin) ซึ่งทำให้กระเทียม มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่มีประโยชน์อีกได้แก่
1.ซีเลเนียม (Selenium) เป็นสารป้องกันที่ไม่ให้เนื้อเยื้อถูกทำลาย (Anti-oxidant)
2.วิตามินบี1 ช่วยให้ระบบประสาทและสมองทำงานดีขึ้น
3.สารไดอัลลิน ไดซัลไฟด์ (Diallyl Disulfide) มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดอาการท้องเสีย
4.สารเกลือแร่ที่พบในกระเทียมคือ เจอร์มาเนียม(Germanium) มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด
5.สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
6.อัลลิซิน(allicin) มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อราประเภท Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคันและตกขาวที่ช่องคลอด
อีกประการหนึ่งที่ใช้ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ คือ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เยื้อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้ (Anti-allergy) มีคนจำนวนมากที่ใช้กระเทียมในการรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ
การกินกระเทียมร่วมกับยาต้านไวรัสบางตัวพร้อมๆกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ยาต้านไวรัสได้ผลน้อยลง
ถ้าคุณประสบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ
-ระดับโคเลสเตอรอนในเลือดสูง
-ตกขาว
-อ่อนเพลีย เวียนศีรษะบ่อยๆ
-ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
-เป็นหวัดบ่อยๆ
-ภูมิแพ้
กระเทียมอาจทำให้คุณ ลืมปัญหาเหล่านี้ได้แต่ในทางกลับกัน สมุนไพรย่อมมีทั้งคุณและโทษ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้นก่อนใช้กระเทียมอย่างจริงจัง คุณควรศึกษาก่อน
ว่า กรณีห้ามใช้มีดังนี้
– ไม่ควรใช้กระเทียมในขณะใช้ยาต้านการรวมตัวของเลือด(Anticoagulants)
-ไม่ควรใช้ก่อนรับการผ่าตัด อาจทำให้เลือดออกมากว่าปกติ
-ไม่ควรใช้หากใช้ยาป้องกันการขาดน้ำตาลในเลือด(Hyproglycemic drugs)
เราลองมารวมประโยชน์ของกระเทียมดูกันอีกครั้งแล้วกันนะครับ
1.กระเทียมช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ
2.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส
3.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวเป็นก้อน อุดตันหลอดเลือด เหมาะกับผู้สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด คนอ้วน หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
4.ช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างการ โดยขับออกทางอุจจาระ
5.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่นโรค หวัด เยื่อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้
6.เป็นยาขับลมช่วยบรรเทาอาการเสียดท้อง(Colic) ท้องอืด (Flatulance)
7.ลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของตับอ่อน ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon)
8.ลดอันตรายจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง
เมื่อคุณได้รู้ทั้งคุณและโทษของกระเทียมแล้วลองพิจารณาดูนะครับว่า
กระเทียมมีคุณสมบัติตรงกับตัวคุณในข้อไหนบ้างครับ
ที่มา pha.narak.com
ขอบคุณ คุณหนึ่งสำหรับข้อมูลดีๆ