พัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็กทารก
การมองเห็นของเด็กทารก |
ทารกไม่ได้เกิดมาแล้วมองเห็นชัดเจนเช่นผู้ใหญ่ทันที
แต่ความสามารถในการมองเห็นของทารกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นตัวกระตุ้น
ความสามารถในการมองเห็นที่ดีคือจุดเริ่มต้นนำไปสู่พัฒนาการที่ดีในด้านต่างๆ เช่น ทำให้การประสานงานของมือและตามีประสิทธิภาพ การมองเห็นที่ดีทำให้ทารกเริ่มเอื้อมมือไปหยิบจับวัตถุ ทำให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็นเกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทารกใช้ ดวงตาในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองจะเป็นตัวกระตุ้น พัฒนาการทางสมองของลูกและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านกายภาพอื่นๆ ทั้งการนั่ง คว่ำ คลาน หรือการเดิน
ตั้งแต่แรกเกิด เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นของทารกยัง ไม่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ แต่จะค่อยๆ มีการแผ่ขยายและมีการประสานของเซลล์สมองให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ ถึงเรารู้ว่าระบบการมองเห็นของทารกพัฒนาไปอย่างไร เราก็จะสามารถหาวิธีการที่สอดคล้อง กับพัฒนาการเพื่อช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมในการกระตุ้นระบบการมองเห็นให้กับลูกน้อยได้
พัฒนาการการมองเห็นของทารก
ช่วงเดือนแรกๆ ที่ทารกลืมตามาดูโลก คือช่วงที่ระบบการมองเห็นของลูก พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจากที่มองเห็นชัดเจนได้ในรัศมีแค่ไม่เกิน 12-15 นิ้ว จนสามารถปรับภาพได้อย่างชัดเจนในระยะต่างๆ และเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน ทารกน้อยก็จะมีความสามารถในการมองเห็นได้ดีเกือบจะเท่ากับการมองเห็นของผู้ใหญ่
ทารกจะมองเห็นภาพชัดเจนในรัศมีแค่ประมาณ 12 นิ้วและสามารถจ้องมองสิ่งของได้นานแค่ 4-11 วินาที และภายใน 4 วัน ลูกน้อยจะสามารถจดจำหน้าคนที่รักมากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นคุณแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเขามาอย่างใกล้ชิดได้
– พยายามสบสายตาแล้วอาจจะพูดคุย ยิ้มแย้มหรือหัวเรากับลูกไปด้วย และช่วงนี้ทารกน้อยสามารถเคลื่อนสายตาตามวัตถุได้บ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะสบดาลูกใกล้ๆ แล้วค่อยๆ เลื่อนหน้าไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้างเด็กน้อยจะมองตามอย่างสนใจ
มองเห็นชัดเจนได้ไกลขึ้นเป็นรัศมีประมาณ 15 นิ้ว และการมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นนี่เอง ทำให้หนูน้อยพยายามเอื้อมมือไปไขว่คว้าสิ่งของที่มองเห็น ลูกเริ่มจะเรียนรู้ในการโฟกัสสิ่งของ โดยใช้สายตาทั้งสองข้าง ทำงานประสานกัน
– พยายามให้ลูกน้อยได้มองเห็นหน้าคุณแม่บ่อยๆ ทั้งใบหน้าจริงๆ ของคุณแม่ หรืออาจจะนำรูปภาพจองคุณแม่มาติดไว้ที่ข้างเตียงนอของลูกได้
– นำของเล่นสีสันสดใสมาแขวนไว้ในระยะที่ลูกสามารถเอื้อมมือไขว่คว้าได้ หรือคุณแม่อาจจะนำของเล่นนั้นมาเล่นกับลูก ให้ลูกมองเห็นในระยะใกล้ๆ แล้วก็เลื่อนของเล่นนั้นไปมา ทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือขึ้นบ้าง ลงบ้าง เพื่อฝึกให้ลูกมองตามวัตถุ
ความจริงแล้วเด็กน้อยสามารถมองเห็นสีต่างๆ ได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังยากเกินไปสำหรับลูกที่จะแยกแยะสีที่มีโทนสีใกล้เคียงกัน เช่น สีแดงกับสีส้ม ด้วยเหตุนี้เองลูกจึงชอบมองสิ่งของที่มีสีขาวสลับดำหรือวัตถุใดก็ตามที่มีสี ตัดกันมากๆ นอกจากนี้ลูกยังเริ่มแยกแยะวัตถุที่แตกต่างจากเดิมได้ เช่น วัตถุมีสีหรือรูปร่างที่ต่างกัน ช่วงนี้เราจึงสามารถช่วยลูกน้อยได้โดยหาของเล่นที่สีสดใสมาให้ลูกมองหรือจับ เล่น หนูน้อยจะชอบมาก
– นำรูปภาพที่มีสีขาวสลับดำมาให้ลูกดู หรือวางไว้ข้างเตียงลูก
– นำรูปภาพหรือสิ่งของที่มีสีสันสดใส สีตัดกันมาให้ลูกดู อาจจะแขวนไว้ หรือคุณพ่อคุณแม่ถือไว้ แล้วดูไปพร้อมกับลูกน้อยได้
การมองเห็นเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนปรับระยะการมองภาพใกล้ไกลได้
– ทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่หยุด นิ่ง แขวนวัตถุที่มีลักษณะสามมิติ เคลื่อนไหวได้ เช่น โมบายรูปสัตว์ต่างๆ ไว้ให้ลูกเอื้อมคว้าได้ แล้วชี้ชวนให้ลูกดูและเล่น
– เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกได้เห็นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
พัฒนาการการมองเห็นของทารกค่อนข้างเกือบจะสมบูรณ์ คือสามารถปรับภาพการมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะต่างๆ หนูน้อยเริ่มพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับความลึก ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการทำงาน ของการใช้แขนไขว่คว้าได้ดีขึ้น ลูกจึงสามารถเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของที่อยู่ข้างหน้าได้แม่นยำขึ้น
– ทารกชอบมองวัตถุสามมิติมากกว่าวัตถุสองมิติ ช่วงนี้ตุ๊กตาผ้ารูปนก เป็ด ลูกบอล สิ่งของที่มีลักษณะกลม รี มีเหลี่ยมมุมจึงเป็นสิ่งที่หนูน้อยชอบ
ช่วงนี้ความสามารถในการมองเห็นของลูกน้อยจะค่อยๆ พัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์ ลูกน้อยสามารถมองเห็นได้แม้กระทั้งวัตถุเล็กๆ หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ หรือบางครั้งแค่เห็นสิ่งของนั้นบางเสี้ยว ไม่ได้เห็นทั้งหมด แต่หนูน้อยก็สามารถจดจำสิ่งของนั้นได้เมื่อเห็นของชิ้นนั้นอีกครั้ง
– ทารกชอบมองขอบเขตของวัตถุมากกว่าจุดกึ่งกลาง ดังนั้นควรหาของเล่นหรือวัตถุที่มีรูปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม ทรงกลม หรือทรงรี เป็นต้น มาให้ลูกได้เล่นอยู่เสมอ
การมองเห็นของลูกพัฒนาขึ้นจนเกือบจะเท่ากับผู้ใหญ่ทั้งในด้านความชัดเจน และการรับรู้เกี่ยวกับความชัดลึก แต่การมองสิ่งของในระยะใกล้ๆ จะดีกว่าการมองสิ่งของที่อยู่ไกลๆ อย่างไรก็ตามการมองเห็นของลูกจะดีพอจนสามารถมองข้ามห้องที่ค่อนข้างกว้างไป สังเกตเห็นผู้คน หรือสิ่งของที่เขาคุ้นเคยได้ ส่วนความสามารถในการรับรู้เรื่องสีก็ดีเกือบจะสมบูรณ์แล้ว สามารถแยกแยะสีในโทนต่างๆ ได้ดี ไม่ได้ชอบเฉพาะสีตัดกันเหมือนช่วงแรกๆ อีกต่อไป
– เมื่ออายุมากขึ้น เด็กจะชอบมองสิ่งของที่มีความซับ ซ้อนมากขึ้น ดังนั้นพาลูกน้อยออกไปเดินเล่นนอกบ้านไปดูต้นไม้ ใบหญ้า หรือไปพบเจอผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ก็จะช่วยทั้งเรื่องการมองเห็นและช่วยบริหารสมองให้ลูกอีกทางหนึ่งด้วย และหลังจากนี้ไปพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยก็จะสมบูรณ์มากขึ้นตาม ลำดับค่ะ
เห็นไหมคะว่าไม่ยากเลยในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การมองเห็นของลูก เพราะเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิดกับลูกน้อย สบสายตา และเล่นกับลูกอยู่เสมอ ลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการการมองเห็นที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพได้