มารู้จักกับโรคเครียด

0

ความเครียดคืออะไร ? ความเครียดกับผู้หญิง ความเครียดในเด็ก ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดหลังการสูญเสีย การจัดการกับความเครียดการจัดการกับความโกรธ การแก้ปัญหาระหว่างบุคคล ล้วนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งทำให้เกิดความเครียดได้ทั้งสิ้น

โรคเครียด ความเครียด
ความเครียด
ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลา อาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่น ความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่ง หรือความเจ็บป่วย ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดี เช่น ความตื่นเต้น ความท้าทาย และความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมีทั้งผลดี และผลเสีย
ชนิดของความเครียด
Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที เหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ ปกติ
ตัวอย่างความเครียด
• เสียง ความดังของเสียงที่รบเร้าประสาทหู ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้
• อากาศเย็นหรือร้อน สภาพอากาศร้อนจัด หรือเย็นจัดทำให้เราปรับตัวไม่ทัน ความเครียดก็เกิดขึ้น
• ชุมชนที่คนมากๆ อย่างที่เราอยู่ในกลุ่มของผู้คนหนาแน่น หรืองานที่มีการเบียดเสียด ก่อให้เกิดความเครียดได้
• ความกลัว ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นให้เราเกิดความเครียด
• ตกใจ อย่างมีใครเล่นพิเรนทร์ หรือเจอะเจอกับสิ่งที่หวาดเสียวน่ากลัว ทำให้เราเกิดความเครียด
• หิวข้าว เป็นเรื่องที่ทุกคนเจอะเจอกันบ่อยที่สุด เพราะบางคนไม่ได้กินข้าวเช้า หรือข้าวเที่ยง ความหิวทำให้เราอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรง และก่อให้เกิดความเครียด ยิ่งเจอกับอาการร้อนด้วยแล้ว ยิ่งเครียดเข้าไปใหญ่
• อันตราย โดยสัณชาตญาณคนเราเวลาตกอยู่ในภาวะอันตรายหรือโดนกดดัน จะก่อให้เกิดความเครียดรุนแรง ซึ่งเราเห็นกันบ่อยในทีวีหรือหนังสือพิมพ์ ยามที่เกิดเหตุการณ์ปล้นจี้ จับตัวประกัน เขาเหล่านั้นจะเกิดความเครียด รวมไปถึงบุคคลรอบข้างด้วยที่มีอาการอย่างนี้
• Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรัง เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อ ความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อนัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
• ความเครียดที่ทำงาน คนเราทุกคนไม่ว่าใครก็ตามล้วนแต่ต้องเจอกับปัญหาแทบทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าเราเจอกับปัญหาหนักหรือเบา ยิ่งคนที่ทำงานอยู่ในภาวะกดดัน ยิ่งต้องเครียดเป็นเรื่องปกติที่เราหลีกหนีไม่พ้น บางครั้งเจ้านายอารมณ์ไม่ดีก็ลงระบายกับลูกน้อง ยอดขายไม่ดีก็โดนด่า สิ่งเหล่านี้คนทำงานต้องเจอทุกวัน
• ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บางครั้งการที่เราเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือบุคคลที่เรานับถือและไม่สามารถที่จะคุยกันรู้เรื่อง ต่างไม่ยอมรับฟังเหตุผล ก็ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้เช่นกัน
• ความเหงา เป็นเรื่องปกติที่คนเราต้องเจอ บางครั้งการอยู่คนเดียวไปไหนคนเดียว ไร้เพื่อนหรือคนที่เรารัก ความเหงาเข้ามาแทรกแซงจิตใจ ทำให้เราโดดเดี่ยว เหงาได้ ความเครียดก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร้วเพื่อเตรียมพร้อมให้ ร่างกายแข็งแรงและมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำ เช่น การวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟ ถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ้มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้โดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกาย จนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ
ผลเสียต่อสุขภาพเนื่องจากความเครียด
ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครีดยนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการที่ปรากฏก็เป็นเพียงทางกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่ เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อ่านรายละเอียดที่นี่
โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด
โรคทางเดินอาหาร
โรคปวดศีรษะไมเกรน
โรคปวดหลัง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจ
ติดสุรา
โรคภูมิแพ้
โรคหอบหืด
ภูมิคุ้มกันต่ำลง
เป็นหวัดง่าย
อุบัติเหตุขณะทำงาน
การฆ่าตัวตาย และมะเร็ง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความเครียด
อาการแสดงทางร่างกาย มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องว่าง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังในหู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่ออก ปวดท้อง
อาการแสดงทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อาการแสดงทางด้านอารมณ์ โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็กหรือดึงผมตัวเอง
อาการแสดงทางพฤติกรรม กินอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว
การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมาก
หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้
• อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร
• มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ
• วิตกกังวล
• มีปัญหาเรื่องการนอน
• ไม่มีความสุขกับชีวิต
• เป็นโรคซึมเศร้า
ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ
ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอน คือ เวลา 22.00 น. เมื่อภาวะเครียดมากจะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต (Body Clock) เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลานอนและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงานและเมื่อความเครียด ลดลง ก็สามารถที่จะนอนได้ตามปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาทีให้หาหนังสือเบาๆ มาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปนอน
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา
หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่น อาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดภาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ
ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือกินอาการนอกบ้าน
ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ในช่วงนี้ เช่น การซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด
หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม./สัปดาห์
การกินอาหารให้กินผักมากๆ เพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่ม สารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี
…หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์…

Share.

About Author