ต่อไปนี้เป็นโจทย์ในข้อสอบฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัย Copenhagen โจทย์มีอยู่ว่า
“จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร”
มีนศ.คนหนึ่งตอบว่า:
“เอาเชือกยาวๆ ผูกกะบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากบนหลังคาแล้วก็เอาความยาวเชือก บวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก”
คำตอบนี้ทำให้อาจารย์ตัดสินว่านศ.คนนั้นสอบตก แต่นศ.ผู้นั้นกลับยืนกรานว่า คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง ทางมหาวิทยาลัย จึงตั้งกรรมการมาตัดสินเรื่องนี้
กรรมการตัดสินว่า คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอนแต่ไม่แสดงถึงความสามารถทางฟิสิกส์ให้เห็น
เพื่อแก้ปัญหาทางกรรมการจึงให้เรียก นศ.คนนั้นมาแล้วให้เวลา6นาทีเพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์
กรรมการเตือนว่า เวลาจะหมดแล้ว นศ.ตอบว่าเขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี
เมื่อได้รับคำเตือนให้รีบ นศ. จึงตอบมาดังนี้ :
ประการแรก ให้ เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึก ทิ้งลงมาจับเวลาจนถึงพื้นความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g * t กำลัง2 แต่น่าสงสารบารอมิเตอร์
หรือถ้าแดดดี ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์ วางให้ตั้งฉากพื้นแล้ววัดความยาวของเงาบารอมอเตอร์วัดความยาวของเงาตึกแล้ว คิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดยไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ
เกิดอยากโชว์ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆมาผูกกะบารอมิเ
ตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้มตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้าความสูงของตึกจะหาได้จากความแตกต่างของคาบการ แกว่งเนื่องจากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวลคำนวนจาก T=2พายกำลัง2รากที่2ของl/g
ตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆจนถึงยอดตึกนับ ไว้คูณด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก
คุณต้องการเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซากคุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดควา
มดันอากาศที่พื้น และที่ยอดตึกคำนวนความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูงตึก
แต่ถ้าเราเหน็ดเหนื่อยกับการคิดและการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาทาง ที่ดีที่สุด ไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่า ถ้าต้องการบารอมิเตอร์สวยๆ ใหม่เอี่ยมแล้วละก็ ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมที
นศ.คนนั้นคือ นีล โบร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
นีลส์ บอร์ (Niels Hendrik David Bohr – พ.ศ. 2428-2505) นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนแล้วจึงได้ไปทำงานที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองเคมบริดจ์ และแมนเชสเตอร์ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่โคเปนเฮเกนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 จนถึงแก่กรรม นีลส์ บอร์ ได้ขยายต่อยอดทฤษฎีโครงสร้างอะตอมให้ก้าวหน้าไปเป็นอันมาก จากการให้การอธิบายสเปกตรัมของไฮโดรเจน โดยวิธีสร้างแบบจำลองไฮโดรเจนและทฤษฎีควอนตัม (พ.ศ. 2456)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บอร์ได้ไปช่วยโครงการวิจัยระเบิดปรมาณูที่ สหรัฐอเมริกาและกลับโคเปนเฮเกนเมื่อสิ้นสงครามในปี พ.ศ. 2488, นีลส์ บอร์ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกทฤษฎีที่โคเปนเฮเกน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2465
ที่มา : หว้ากอ@pantip.com