ซื้อเครื่องสำอาง อย่างฉลาด ต้องมีเทคนิค
คือ ซื้อเท่าที่ต้องการ หรือที่จำเป็นต้องใช้ เพราะจะช่วยให้ประหยัดเงิน และช่วยป้องกันไม่ให้มีเครื่องสำอางเกินความจำเป็น การเก็บเครื่องสำอางไว้นานๆ เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องสำอางจะมีกลิ่น สีและลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ใช้ไม่ได้ก็จะกลายเป็นขยะ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มขยะโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
2. ซื้อโดยไม่หลงเชื่อคำโฆษณา
3. ซื้อตามความเหมาะสมของฐานะและเศรษฐกิจ
เนื่องจากเครื่องสำอางที่จะต้องซื้อมีมากมายหลายชนิด ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น การเลือกซื้อเครื่องสำอาง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภายนอก ควรคำนึงถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องราคา โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
– เครื่องสำอางต่างประเทศ มีราคาสูงมาก เนื่องจากต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง และทั้งผู้ผลิตในต่างประเทศ และผู้นำเข้าในประเทศไทย ต่างต้องมีกำไรในการขาย ราคาขายจึงแพงมาก
– เครื่องสำอางบางชนิดราคา สูงเนื่องมาจากความนิยมในยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า
– เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ ปัจจุบันมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ และมีขายหลายระดับราคา สามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสม
– การที่เครื่องสำอางมีราคาสูง มิได้หมายความว่า เมื่อใช้แล้วจะไม่แพ้หรือไม่อันตราย เนื่องจากการแพ้ หรือใช้ไม่ได้ผล อาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
4. ซื้อให้เหมาะสมกับผู้ใช้ เหมาะกับวัย
เช่น ทารก เด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน หรือวัยชรา การเลือกซื้อเครื่องสำอางต้องคำนึงถึงวัยของผู้ใช้ด้วย เพราะสภาพผิว ความต้านทานของผิว และความจำเป็นของผู้ใช้แต่ละวัยไม่เหมือนกัน เหมาะ สมกับผิวของผู้ใช้ หรือลักษณะของผู้ใช้ เนื่องจากปัจจุบัน เครื่องสำอางหลายชนิดที่ผลิตออกมาจำหน่าย สำหรับผิวหรือลักษณะของผู้ใช้แต่ละแบบ เช่น สำหรับผิวแห้ง ผิวมัน สำหรับผมแห้ง ผมธรรมดา หรือผมมัน เป็นต้น
5. ซื้อจากแหล่งจำหน่ายเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือ
การซื้อควรซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่มีที่อยู่หรือหลักแหล่งที่แน่นอน เนื่องจากหากใช้แล้วเกิดปัญหาก็สามารถจะกลับไปตรวจสอบหรือสอบถามข้อมูลจาก ผู้ขายได้
6. ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทยครบถ้วน
กฎหมาย ของเครื่องสำอางมุ่งเน้นที่จะให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ของเครื่องสำอางจึงมีข้อบังคับว่า เครื่องสำอางทุกประเภททุกชิ้นจะต้องมีฉลากที่มีข้อความเป็นภาษาไทย ตามที่กำหนดไว้ของเครื่องสำอางแต่ละประเภท
ข้อสังเกตในเรื่องฉลากภาษาไทย
การพิจารณาเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย ต้องมีสาระสำคัญต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เครื่องสำอางที่มี ฉลากภาษาไทยต้อง แจ้งรายละเอียดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแจ้งชื่อ และที่อยู่ผู้ผลิตอย่างชัดเจน อาจเป็นเครื่องชี้วัดได้ในระดับหนึ่งว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์มีความบริสุทธิ์ใจ และจริงใจต่อผู้ใช้ สามารถตรวจสอบจากแหล่งผลิตได้ หากเกิดปัญหาเรื่องวัน ดังนี้
วัน เดือน ปี ที่ผลิต ซึ่งกฎหมายบังคับว่า เครื่องสำอางทุกชนิด ทุกชิ้น ต้องแสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิตไว้ที่ฉลาก ในส่วนนี้ผู้ซื้อจะพิจารณาได้ว่า เครื่องสำอางนั้นเก่าเกินไปหรือไม่
วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ สำหรับเครื่องสำอางบางชนิด ได้แก่ น้ำยาโกรกผม หรือน้ำยาผสมของผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ เมื่อครบกำหนดวันหมดอายุแล้วประสิทธิภาพจะหมดไปด้วย
7.พิจารณาลักษณะ และภาชนะบรรจุของเครื่องสำอาง
ลักษณะของเครื่องสำอางที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะ ให้สังเกตในเรื่องของสี กลิ่น การแยกชั้น หรือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ดี เช่น เก็บไว้นานจนปริมาณในขวดลดลงจนเห็นได้ชัด ภาชนะบรรจุ คือ วัตถุใดๆ ที่ใช้บรรจุ หรือหุ้มห่อเครื่องสำอาง โดยเฉพาะในการซื้อ จะต้องพิจารณาว่าภาชนะบรรจุอยู่ในลักษณะที่ดีเหมาะสม ปลอดภัย ไม่แตก รั่ว ร้าว และไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน
การนำเครื่องสำอางไปใช้
เมื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางไปแล้ว ก่อนที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และปลอดภัยมีแนวทางที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. อ่านฉลากก่อนใช้
การอ่านฉลากก่อนใช้จะทำให้ทราบได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร และใช้เพื่ออะไร สาระสำคัญในการอ่านฉลากก่อนใช้ คือ วิธีใช้ ข้อควรระวัง หรือ คำเตือน ซึ่งบางครั้งอาจแสดงไว้ที่ฉลาก กล่องหรือด้านในของกล่อง ใบแทรก หรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง จะต้องอ่านอย่างละเอียด อ่านให้เข้าใจ หากไม่เข้าใจต้องสอบถามผู้รู้หรือผู้ขายให้เข้าใจ
2. ปฏิบัติตามวิธีใช้วิธีที่แสดงไว้ที่ฉลาก
หรือกล่อง หรือใบแทรก หรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง ถือว่าเป็นวิธีใช้ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ควรเชื่อคำบอกเล่า เนื่องจากอาจไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่ปลอดภัย
3. ระมัดระวังตามข้อควรระวังหรือคำเตือนที่แจ้งไว้
ให้อ่านคำเตือน หรือข้อควรระวังที่แสดงไว้ที่ผลิตภัณฑ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำเตือนของเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ และเครื่องสำอางควบคุมที่กฎหมายบังคับให้แสดงคำเตือนไว้บนฉลาก
ผลจากการใช้เครื่องสำอาง
เมื่อได้ใช้เครื่องสำอางชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ผู้ใช้ควรจะต้องพิจารณาผลที่ได้จากการใช้ว่าคุ้มค่า หรือสูญเปล่าเพียงใด ดังนี้
1. หากใช้แล้วได้ผลตามที่ต้องการ
ไม่เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองก็สมควรที่จะซื้อใช้ต่อไป
2. ใช้แล้วไม่ได้ผล
ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้ เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองก็ตาม สมควรเลิกใช้ และหากพิจารณาแล้วว่า น่าจะเป็นการโฆษณาสรรพคุณเป็นเท็จหรือเกินจริง ก็ควรบอกกันต่อๆ ไป เพื่อมิให้มีผู้ถูกหลอกลวงมากขึ้น หรืออาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐทราบ เพื่อติดตามตรวจสอบต่อไป
3. ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง
ในกรณีที่ใช้แล้วเกิด อาการแพ้ หรือระคายเคือง ให้หยุดใช้ หากอาการแพ้ไม่รุนแรง เมื่อหยุดใช้จะหายเองได้ แต่หากอาการแพ้รุนแรง ควรพบแพทย์ เพื่อแก้ไข บรรเทา หรือรักษาอาการแพ้นั้น
*หากใช้เครื่องสำอางชนิดใดแล้วเกิด อาการแพ้ หรือระคายเคือง ให้เลิกใช้ทันที !!
4. มีปัญหาสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่ใช้แล้วไม่ ได้ผล หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาการแพ้ หรือมีปัญหาน่าสงสัยว่าอาจเป็นเครื่องสำอางผิดกฎหมาย หรืออาจมีอันตราย หรือไม่น่าปลอดภัย ควรอบถามหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป