การกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทารก

0

การกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทารก

สัมผัสทั้ง 5 ของทารกสามารถใช้การได้ตั้งแต่แรกเกิด การเรียนรู้เกิดจากสัมผัสทั้ง 5 นี้เอง การกระตุ้นสัมผัสทั้ง 5 ของลูกด้วยสิ่งใหม่ๆ จึงช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกได้อย่างดีเยี่ยม “และระดับการรับรู้ของทารกจะพัฒนาขึ้นทุกครั้งทีได้รับการกระตุ้น”

สัมผัสทางร่างกายของทารก (Sense of Touch)
ทารกสามารถซึมซับความรักของพ่อแม่จากการอุ้ม การกอด การหอม และการสัมผัสที่นุ่มนวลได้ดี เพราะส่วนของสมองที่เกี่ยวกับการรับสัมผัส เริ่มทำงานตั้งแต่แม่มีอายุครรภ์ได้ 4 เดือน จะสังเกตได้ว่าการลูบเบาๆ ที่ท้องแม่ก็กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้เด็กที่ พ่อแม่ใกล้ชิดและสัมผัสเป็นประจำจะไม่งอแงและไม่ค่อยป่วย ผลการวิจัยของทิฟฟานี ฟิลด์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเรื่องการสัมผัส แห่งมหาวิทยาลัยไมอามี่ ระบุว่าการนวดเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเป็นเวลา 15 นาทุกวันวันละ 3 ครั้ง จะทำให้ทารกเหล่านี้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วกว่าทารกที่ไม่รับการนวดถึง 47 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่าการนวดน้ำมันให้ทารกจะทำให้ทารกมีความเครียดน้อยกว่าอีกด้วยทารกชอบสัมผัสสิ่งที่นุ่มนวล เช่น ผ้านุ่มๆ มากกว่าพื้นผิวที่หยาบ และเมื่อได้สัมผัสกับพื้นผิวที่แปลกๆ ทารกอาจใช้เวลาสักพัก ช่วงเวลานั้นเองที่สมองของทารกมี การเก็บข้อมูลและพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้เวลากับลูก และใช้สัมผัสอันนุ่มนวลสื่อให้เค้ารู้สึกถึงความรักมากมายที่มีให้ เท่ากับเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทั้งทางสมองและอารมณ์ และการให้ลูกทดลองหยิบจับหรือการเล่นกับลูกโดยการหาของนุ่มๆ เช่นขนนกมาเขี่ยเบาๆ ที่แขนและขา ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านสัมผัสที่ผิวหนังได้

สัมผัสทางด้านกลิ่นของทารก (Sense of Smell)
แม้จมูกของทารกจะดูเล็กมากๆ แต่ก็ใช้การได้ดีตั้งแต่แรกเกิด เพราะประสาทส่วนที่รับกลิ่นเริ่มทำงานตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ ในขวบปีแรกทารกสามารถ แยกกลิ่นที่ต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง โดยจะชอบกลิ่นหอมหวานอย่างวนิลลา และไม่ชอบกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นน้ำมัน หรือเหม็นฉุนอย่างไข่เน่าสำหรับผู้ใหญ่แล้ว หลายๆ ครั้งที่กลิ่นต่างๆ ทำให้ระลึกถึงความทรงจำที่ประทับใจในอดีต ทารกก็เช่นกัน ตั้งแต่สัปดาห์แรกก็สามารถรับรู้ถึงสัมผัสแห่งความทรงจำนี้ได้ที่จำแม่ได้ และมีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับแม่ เพราะแม่มากับอาหารหรือความสุข หรือความสบาย จึงไม่แปลกที่ทารกจะดูรักแม่กว่าใคร กลไกการทำงานของสมองส่วนนี้คือ การจับคู่กลิ่นของ “แม่กับความสุข” โดยกลิ่นของแม่จะกระตุ้นให้สมองของทารกสั่งการให้ประสาทส่งสัญยาณไปยังสมองส่วนความจำและอารมณ์ทำให้สามารถจำแม่ได้และสามารถเชื่อมโยงความสุขต่างๆ กับแม่ได้ทารกที่ มีอายุ 2 เดือน จะสามารถแยกกลิ่นได้มากขึ้นและรับรู้ได้ถึงความฉุนมากน้อยของกลิ่นได้ เมื่ออายุมากขึ้นก็สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลิ่นและความทรงจำได้ดี ขึ้นพอถึงวัยเริ่มเดินประมาณ 1 ขวบ เมื่อเด็กมีการสัมผัส กับโลกกว้างขึ้น มีการเรียนรู้มากขึ้น สมองและระบบประสาทมีการพัฒนามากขึ้น การเชื่อมโยงของกลิ่นและประสบการณ์ต่างๆ ก็ชัดเจนขึ้น กลิ่นต่างๆ จึงมีความหมายมากขึ้นด้วย เช่น เวลาดมดอกไม้ เด็กจะรู้สึกมีความสุขและอารมณ์ดี โดยเฉพาะถ้าประสบการณ์ของเด็กคนนั้นคือการได้เดินเล่นเก็บดอกไม้กับคุณแม่อย่างมีความสุข แต่ถ้าประสบการณ์ของเขากลายเป็นการเด็กดอกไม้แล้วถูกดุ กลิ่นดอกไม้นั้นก็คงไม่ถูกใจและอาจจะไม่ชอบดมดอกไม้อีกเลย

สัมผัสทางด้านการได้ยินของทารก (Sense of Hearing)
ทารกแรกเกิดมีระบบการได้ยินที่ดีเยี่ยม และเช่นเดียวกับสัมผัสด้านอื่นๆ ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้สามารถแยกเสียงที่แตก ต่างได้ เช่น เสียงอึกทึกกับความเงียบ เสียงที่มีความถี่สูงจะกระตุ้นการฟังของทารกได้ดีการที่คุณพ่อคุณแม่ทำเสียงน้อยเวลาพูดกับลูกจึงสามารถดึงดูดความสนใจของทารกได้ดีกว่าการทำเสียงราบเรียบช่วง 2-3 เดือน ทารกสามารถหาต้นกำเนิดเสียงได้ทำให้เริ่มจับการสนทนาต่างๆ รอบตัวได้บ้าง เด็กสามารถ จับเสียงสำเนียงภาษาต่างๆ ได้ จึงสามารถเรียนรู้ได้หลายภาษา ถ้าสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้ได้ยินทุกวันจากการทดลองของแพททริเชีย เคห์ล ศาสตราจารย์ด้านการฟังและการพูดจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สรุปว่า ถึงแม้ว่าเคยรับรู้สำเนียงภาษาอื่นแต่ไม่ถูกกระตุ้นต่อไป สมองเมื่อไม่ได้ยกเลิกการรับรู้เสียงนั้นแล้วเปลี่ยนเป็นรับรู้เสียงอื่นที่ คุ้นเคยกว่า เช่น ทารกที่เติบโตในต่างแดน เมื่ออายุ 2 ขวบกลับมาเติบโตในประเทศไทยก็จะลืมการรับรู้สำเนียงภาษาต่างประเทศไป

สัมผัสทางด้านการรับรสของทารก (Sense of Taste)
ทารกแรกเกิดสามารถรับรสได้ดี ถ้าคุณแม่พึ่งรับประทานอาหารรสขมจานใหญ่มา ลูกอาจไม่ยอมทานนมแม่ เพราะทารกสามารถ รับรู้รสชาติต่างๆ ผ่านทางน้ำนมแม่หรือแม้กระทั่งผ่านทางน้ำคร่ำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ของโปรดของคุณแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จึงกลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคย และไม่แปลกอะไรที่ลูกก็จะชอบด้วย ดังนั้นขณะที่คุณแม่ชอบตั้งครรภ์หรือให้นมลูกถ้าคุณแม่ทานอาหารได้หลากหลาย ลูกก็จะเป็นเด็กชอบลองอาหารใหม่ๆ ไปด้วย

การรับรู้สัมผัสทางด้านการมองเห็นของทารก (Sense of Sight)
การมองเห็นของทารกจะเป็นสัมผัสส่วนที่พัฒนานานที่สุด เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่แรกเกิดทารกเห็น ภาพได้ในระยะ 20-30 ซม. หรือประมาณ 1 ฟุตเท่านั้นถ้าใกล้หรือไกลกว่านั้นจะมองได้ไม่ชัด ซึ่งก็พอดีกับระยะห่างของหน้าแม่ขณะให้นมลูกนั่นเอง แม้ทารกจะยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ความคมชัดของใบหน้าที่โดดออกจากแนวผม และความโค้งมนของรูปหน้าคน ก็ดึงดูดสายตาเด็กทารกได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทารกจะชอบมองหน้าพ่อแม่ขณะที่กำลังให้นมระยะ 3 เดือนทารกจะ มองตามสิ่งที่เคลื่อนที่เข้ามามาหาตัวเขาและจะค่อยๆ มองเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหวในแบบอื่นทีละน้อย การมองเห็นจะพัฒนาไปจนเห็นเป็นสีที่ชัดเจนช่วงเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 7 ช่วงนี้เองที่ของเล่นที่มีสีสันสดใสจะเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการของ สมองส่วนการมองเห็น ทารกจึงสนใจของเล่นเป็นพิเศษ และจะเริ่มรู้จักการกะระยะตั้งแต่อายุ 6 เดือน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะเป็นช่วงที่เริ่มคืบคลานไปหาสิ่งต่างๆ ที่สนใจ การมองเห็นในเด็กเล็กจะชัดเจนและไกลขึ้นเรื่อยๆ ตามวัยที่เพิ่มขึ้นจนอายุประมาณ 9 ขวบระบบการมองเห็นจึงจะพัฒนาเต็มที่แม้ว่าพัฒนาการมองเห็นในเด็กเล็ก จะใช้เวลาในการเติบโตและพัฒนาจึงต้องการการกระตุ้นการมองเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าขาดสิ่งกระตุ้น สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นก็จะขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การแขวนโมบายล์ที่เตียงเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาการมองเห็นได้ดีก็จริง แต่การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและความรักจากพ่อแม่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ สุดเพราะพ่อแม่เป็นของเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจในโลกของทารก พ่อ แม่สามารถเล่นกับลูกด้วยการขยับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แลบลิ้นเข้าออกช้าๆ 3-4 ครั้งแล้วคอยดูปฏิกิริยาของลูก ลูกจะพยายามทำตามแม้จะทำได้ไม่ดีนัก แต่ที่แน่ๆ คือลูกได้รับการกระตุ้นการมอง มีการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับได้ซึมซับความอบอุ่นจากพ่อแม่คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังนิสัยรักธรรมชาติ ไปในตัว เพื่อเป็นพื้นฐานอันดีในการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิ่งเร้าต่างๆ จึงควรเป็นสิ่งที่คัดสรรมาแล้ว เช่น ของเล่นที่เป็นไม้ ให้ดูผีเสื้อขยับปีก ให้ทานอาหารรสธรรมดา ให้ฟังเสียงร้องเพลงของแม่ (แม้คุณพ่อจะไม่ชอบ) ใช้เวลาอยู่สวนท่ามกลางธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อเด็กในการพัฒนาจิตใจให้สงบและมั่นคง

นอกจากการเลือกสรรแล้ว ยังมีข้อพึงระวังบางประการ

สำหรับทารกที่ยังเล็ก การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองด้านการรับสัมผัสต่างๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 2-3 นาที เพราะทารกไม่สามารถรับสิ่งเร้าได้นานกว่านั้น
ควรหยุดเมื่อทารกมีอาการเบื่อ โดยสังเกตได้จากถ้าเด็กมีอาการเบื่อ จะเริ่มหันหน้าหนี ไม่มองตาทำหน้าเบะ แอ่นหงายหลัง หรือร้องไห้ เป็นต้น
ให้จำไว้ว่าเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ความชอบจึงต่างกันการกระตุ้นของทารก เป็น สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำอย่างพอเหมาะและต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาดคือ เวลาให้นมไม่ใช่เพียงเรื่องของการรับรสเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์รวมของสัมผัสทั้ง 5 ขณะให้นมจึงควรกอดลูกไว้อย่างนุ่มนวล มองตาลูก ลูกไล้เบาๆ และคุยกับลูกด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ปล่อยให้ลูกจับหน้าคุณพ่อคุณแม่ตามสบาย ให้ลูกและคุณใช้เวลานี้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรู้สึกได้ถึงความรักที่มีต่อกันผ่านสัมผัสทั้ง 5 ค่ะ.

Share.

About Author