เครื่องหมายความปลอดภัยของเล่นเด็ก

0

เครื่องหมายความปลอดภัยของเล่นเด็ก

วันนี้จะมาเสนอข้อมูลให้ผู้บริโภคซื้อของเด็กเล่นได้ทราบว่า เครื่องหมายความปลอดภัยที่ปิดบนกล่องของเล่นนั้น หมายความว่าอย่างไร

CE sign

เครื่องหมายแรก คือ CE ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformité Européene” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” สัญลักษณ์นี้ควรปิดไว้ที่ของเล่นพร้อมกับชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของยุโรปปี 1993 สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ของเล่นนั้นจะวางขายในยุโรปและผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยของเล่นทุกประการ

เครื่องหมายนี้แสดงถึงของเล่นนั้นไม่เหมาะสมกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีหรือ 36 เดือน สัญลักษณ์นี้จะปิดบนของเล่นที่มีขนาดเล็กและหรือของเล่นที่อาจทำให้เด็กใส่ปากแล้วติดในหลอดลมได้

เครื่องหมายนี้จัดทำโดยสมาคมของเล่นประเทศอังกฤษในปี 1988 (BTHA = British Toy & Hobby Association) เพื่อแสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของของเล่น ว่าผ่านตามมาตรฐาน EN-71ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป

ขณะที่ CE ใช้กับโรงงานผู้ผลิตเพื่อแสดงว่า การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ส่วน Lion Mark เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า

สืบเนื่องมาจากสมาคมขายของเล่นประเทศอังกฤษกับสมาคมของเล่นประเทศอังกฤษ (The British Association of Toy Retailers joined with the British Toy & Hobby Association) ได้ร่วมมือกันจัดทำเครื่องหมายนี้ขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบว่า ร้านค้านี้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมาย Lion Mark และสินค้าที่จำหน่ายในร้านนี้ทุกชิ้นมีมาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนั้นการบริหารจัดการในร้านจนถึงพนักงานขาย จะได้รับการอบรม ให้ความรู้ด้านความปลอดภัยและสามารถให้ข้อมูลแก่ลูกค้าได้

N-71 (EN = European Norm) Safety of Toys. เป็นมาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับของเล่นที่รู้จักกันดีได้แก่ EN71-3: 1995 Specification for Migration of Certain Elements + A1: 2000 และ EN71- 9: 2005 + A1:2007 Organic Chemical Compounds

ASTM = American Society for Testing and Materials เป็นมาตรฐานคุณภาพสินค้าอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและรู้จักกันดีได้แก่ ASTM F963-08 Standard Consumer Safety Specification on Toy Safety

Green Dot เป็นเครื่องหมายของประเทศทางยุโรป ที่แสดงว่า หลังจากการใช้งานบริษัทที่ดำเนินการจัดเก็บขยะหรือของเหลือจะต้องนำเอาบรรจุ ภัณฑ์ไปดำเนินการโดยบริษัทผู้เป็นเจ้าบรรจุภัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้ จ่าย. ซึ่งผู้เขียนคิดว่าน่าจะใช้บังคับสินค้าที่ส่งไปขายทางแถบยุโรปเท่านั้น ส่วนที่ขายอยู่ในประเทศไทยไม่เกี่ยวข้อง

ฉลากเขียว (Green Label) คือฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของเล่นของประเทศไทย ซึ่งจะคล้ายกับ EN-71 Part 3

Share.

About Author